เครื่องดึงคอและหลังไฟฟ้า

เป็นอุปกรณ์ดึงคอและหลังแบบอัตโนมัติ โดยอาศัยน้ำหนักจากแรงตึงเชือก
- ช่วยยืดเนื้อเยื่อและข้อต่อ
- เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
- เพิ่มช่องว่างระหว่างข้อต่อ
- ลดการกดทับของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
Q & A เรื่อง ดึงหลังดึงคอด้วยเครื่องดึงทางกายภาพบำบัด
Q: การดึงด้วยเครื่องดึงหลังดึงคอ (Traction) คืออะไร
A: คือ วิธีการที่ช่วยให้กล้ามเนื้อที่ถูกดึงยืดออกนั้นคลายอาการเกร็งได้และทำให้ข้อต่อมีการยืดออกทำให้อาการปวดลดลงเพราะแรงกดที่กระดูกสันหลังลดลง
Q: การดึงด้วยเครื่องดึงหลัง
ดึงคอ( traction)
ช่วยเรื่องอะไรได้บ้าง
A: 1. ยืดกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการเกร็ง
- ลดแรงกดที่ทำต่อข้อต่อของกระดูกคอหรือหลัง
- ลดการกดเส้นประสาทสันหลัง โดยการดึงทำให้ช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลังกว้างขึ้น
- ลดแรงกดบนหมอนรองกระดูก โดยทำให้ช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลังกว้างขึ้น
Q: อาการต้องเป็นอย่างไรจึงต้องรักษาด้วยเครื่องดึงหลังดึงคอ (Traction) คืออะไร
A: กลุ่มอาการที่เกิดจากการกดรากประสาทเนื่องจากหมอนรองกระดูกเคลื่อน (Herniated disc) หรือโรคข้อกระดูกเสื่อม (Spondylosis)
โรคข้อกระดูกเสื่อมของกระดูกสันหลัง (Spondylosis) ซึ่งมีอาการปวดหรือเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณคอหรือหลังร่วมด้วย
กระดูกสันหลังเคลื่อนระดับเอวและสะโพกระดับน้อย (Lumbosacral spondylolisthesis grade I-II)
น้ำหนักสำหรับการดึงหลัง
ดึงคอเครื่องดึงทางกายภาพบำบัดด้วย ( traction) ใช้หลักการใด
A: – C spine เริ่มต้นที่ 7% ของน้ำหนักตัว
– L spine เริ่มต้นที่ 25% เพิ่มได้จนถึง 50% ของน้ำหนักตัว
Q: หลักในการตั้งเวลาในการดึงและปล่อย เครื่องดึงทางกายภาพบำบัดTraction คืออะไร
A: -Hold time 30-60 วินาที rest time 15-30 วินาที สำหรับโรคที่เกิดกับหมอนรองกระดูก
-Hold time 15 วินาที rest time 10-20 สำหรับ facet joint dysfunction
ซึ่งสำหรับการตั้งค่าอาจปรับได้ตามความเหมาะสม
Q: หลักของการจัดมุมเพื่อทำการดึงโดยเครื่องดึงทางกายภาพบำบัดTraction คืออะไร
A:- Occiput (C1‐C2) 0‐5 องศา flexion
– Mid. Cervical (C2‐C5) 10‐20 องศา flexion
– Low cervical (C5‐C7) 25‐30 องศา flexion
– L5‐S1= 45‐60 องศา hip flexion
– L4‐L5 = 60‐75 องศา hip flexion
– L3‐L4 = 75‐90 องศา hip flexion
Q: ข้อห้ามในการทำการดึงโดยเครื่องดึงทางกายภาพบำบัด Traction คืออะไร
A: – การอักเสบติดเชื้อของกระดูก หรือหมอนรองกระดูก
– มะเร็งของกระดูกหรือไขสันหลัง
– กระดูกหักหรือเคลื่อนชนิดไม่มั่นคง
– กระดูกพรุนขั้นรุนแรง
– ความดันโลหิตสูงขั้นรุนแรง
Q: การดึงโดยเครื่องดึงทางกายภาพบำบัด Traction ส่วนใหญ่นิยมใช้รักษาบริเวณส่วนใดของร่างกาย
A: ส่วนคอและส่วนหลัง
Q: ท่าทางที่ใช้ในการดึงโดยเครื่องดึงทางกายภาพบำบัด Traction คือ
A: ท่านั่ง ท่ายืน ท่านอน ซึ่งอาจเป็นท่านอนคว่ำหรือนอนหงาย
ผลที่ได้
- ลดอาการปวด เนื่องจากเป็นการลดแรงกดต่อโครงสร้างต่างๆ
- ผ่อนคลายและลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
- ลดแรงกดหมอนรองกระดูก
- ลดการกดรากประสาท ที่ทำให้เกิดอาการชา
- แยกข้อต่อของกระดูกคอหรือหลัง
อาการส่วนใหญ่ที่บำบัดด้วยเครื่องดึงหลัง
- หมอนรองกระดูกปลิ้น
- รากประสาทถูกกดทับ
- โรคข้อกระดกูสนัหลังเสื่อม
- โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ
- ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อเชื่อมต่อบริเวณกระดูกสันหลัง
ขั้นตอนการรักษา
นักกายภาพบำบัด จะจัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย ให้อยู่ในท่าและตำแหน่ง ที่เหมาะสม บนเตียงดึงหลัง และดึงคอ จากนั้นสวมใส่อุปกรณ์ การดึงเข้ากับตัวผู้ป่วย พร้อมกับตั้งค่า การดึงต่างๆ เช่น น้ำหนัก เวลาที่ใช้ในการดึง ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ในการรักษา ถ้าต้องการลดอาการเกร็ง ของกล้ามเนื้อจะใช้น้ำหนักร้อยละ 25 ของนำ้หนักตัว ถ้าต้องการแยกข้อต่อ ต้องใช้น้ำหนักร้อยละเพิ่มขึ้นเป็น 50 ของนำ้หนักตัว เวลาในการรักษาโดยประมาณอยู่ที่ 15 – 20 นาที