กำแพงกันดิน

กำแพงกันดินคืออะไร? มีรูปแบบการใช้งานแบบไหนบ้าง?

ประเด็นสำคัญ

  • กำแพงกันดินคือกำแพงที่มีโครงสร้างใหญ่ ออกแบบให้แน่นหนาเป็นพิเศษ ใช้เพื่อป้องกันดินสไลด์ ดินถล่ม สำหรับที่อยู่อาศัยจะใช้ตรงส่วนรากฐาน เพราะช่วยป้องกันน้ำเข้าใต้ดินด้วย
  • การออกแบบกำแพงกันดินหลัก ๆ จะมีให้เลือก 4 แบบ ได้แก่ แบบ Gravity Wall เน้นขนาดใหญ่ แบบ Cantilever Wall เพิ่มคานด้านล่าง มั่นคงมากขึ้น แบบ Piling Wall ตอกเสาเข็มเพิ่มเติม และแบบ Anchored Wall ที่มีสมอยึด นำไปประยุกต์ใช้กับกำแพงแบบอื่นได้

ปกติกำแพงกันดินอาจจะไม่เป็นที่รู้จักของคนเมืองเท่าไรนัก แต่ถ้าใครอยากจะสร้างบ้านตรงเชิงเขา ริมแม่น้ำ หรือพื้นที่ที่มีดินต่างระดับที่มีโอกาสเกิดดินสไลด์ ส่วนประกอบนี้ขาดไปไม่ได้เลย เพราะจะช่วยให้บ้านปลอดภัยจากความเสียหาย ป้องกันดินไม่ให้พังทลายลงมายังบ้าน ใครที่สงสัยว่ากำแพงแบบนี้คืออะไร มีกี่แบบให้เลือก วันนี้จระเข้มีคำตอบมาให้ทุกคนแล้ว

jorakay blog-index-icnยาวไปอยากเลือกอ่าน

กำแพงกันดินคืออะไร?

การก่อสร้างกำแพงกันดิน

ภาพ: การก่อสร้างกำแพงกันดิน

กำแพงกันดินหรือ Retaining Wall คือ กำแพงแบบหนึ่งที่สร้างมาให้แข็งแรงเป็นพิเศษ เพราะจะใช้ในพื้นที่ที่แรงดันด้านข้างจากดิน โคลน หรือน้ำ จะเห็นได้บ่อย ๆ ตามที่ลาดชัน เชิงเขา ตลิ่ง หรือเขื่อน เพราะช่วยเพิ่มความปลอดภัยเวลามีดินสไลด์ โคลนถล่ม หรือน้ำซัด

สำหรับการออกแบบกำแพงกันดินในที่อาคารที่อยู่อาศัย ก็จะใช้ตรงส่วนที่เป็นฐานราก เพราะจะช่วยป้องกันน้ำซึมเข้าใต้ดิน เวลามีรถยนต์หรือยาพาหนะขับผ่านเยอะ ๆ ก็จะช่วยลดแรงต้านจากน้ำหนักที่กดทับลงมาได้ด้วย ช่วยให้บ้านแข็งแรง ปลอดภัยยิ่งกว่าเดิม

สำหรับใครที่ยังไม่รู้จักกำแพงกันดินมากนัก ว่ามีกี่แบบ แล้วแต่ละแบบเหมาะกับพื้นที่แบบไหนบ้าง วันนี้จระเข้มีความรู้ดี ๆ มาฝากกัน รับรองว่าเป็นประโยชน์กับทุกคนแน่นอน!

กำแพงกันดินมีกี่ประเภท เหมาะกับการใช้งานแบบไหนบ้าง?

1. กำแพงกันดินแบบ Gravity Wall กำแพงแบบดั้งเดิม เน้นความใหญ่

รูปแบบการก่อสร้าง Gravity Wall

ภาพ: รูปแบบการก่อสร้าง Gravity Wall

ถ้าถามถึงการออกแบบกำแพงกันดินแบบดั้งเดิมที่ใช้มาตั้งแต่โบราณ ก็จะเป็นกําแพงกั้นดินแบบ Gravity Wall ที่มักจะเป็นกำแพงขนาดใหญ่ สูง 1-5 เมตร ใช้หลักการถ่วงน้ำหนัก เพื่อให้ต้านทานดินที่จะสไลด์ลงมาได้ และยังช่วยป้องกันไม่ให้ดินเคลื่อนตัว ส่วนใหญ่จะเป็นกำแพงหิน เพื่อให้กำแพงมีน้ำหนักมากพอจะต้านแรงดันจากดิน

กำแพงแบบ Gravity Wall

ภาพ: กำแพงแบบ Gravity Wall

ใช้งานแบบไหน: โครงสร้างพื้นฐานและงานสาธารณูปโภค เช่น เขื่อน เขื่อนขนาดใหญ่ ตลิ่ง ฝายกั้นน้ำ กำแพงกันดินสไลด์ตามแนวภูเขา

2. กำแพงกันดินแบบ Cantilever Wall เพิ่มคานด้านล่าง รับแรงต้านได้ดีขึ้น

รูปแบบการก่อสร้าง Cantilever Wall

ภาพ: รูปแบบการก่อสร้าง Cantilever Wall

จากกำแพงแบบ Gravity Wall ก็ได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมขึ้นมาเป็นแบบ Cantilever Wall ที่มักจะใช้กับกำแพงที่สูงขึ้นไปอีกเป็น 2-10 เมตร เพราะรับแรงต้านทานได้ดียิ่งขึ้น โดยใช้วิธีเพิ่มคานด้านล่างให้ยื่นไปฝั่งดินที่สูงกว่า ซึ่งทำให้ดินถ่วงน้ำหนักบริเวณคาน ส่งผลให้กำแพงแข็งแรงยิ่งกว่าเดิม โดยไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็มเลย 

กำแพงแบบ Cantilever Wall

ภาพ: กำแพงแบบ Cantilever Wall

ใช้งานแบบไหน: บ้าน อาคารที่อยู่อาศัย และงานป้องกันดินสไลด์และดินถล่มโดยเฉพาะ ใช้ได้ทั้งตามแนวเชิงเขาและแนวตลิ่ง 

3. กำแพงกันดินแบบ Piling Wall ตอกเสาเข็มลงดิน แข็งแกร่งกว่าเดิม

รูปแบบการก่อสร้าง Piling Wall

ภาพ: รูปแบบการก่อสร้าง Piling Wall

สำหรับการออกแบบกำแพงกันดินแบบที่มีเหล็กเข้ามาเป็นตัวเสริม จะเป็นกำแพงกั้นดินแบบ Piling Wall ซึ่งมีการตอกเสาเข็ม ใช้แรงต้านจากดินระดับต่ำกว่าทั้งสองฝั่ง เพื่อรับแรงดันจากดินที่สูงกว่า สมัยก่อนจะใช้เป็นเสาไม้ แต่ปัจจุบันใช้เสาคอนกรีต หรือใช้เหล็กชีทไพล์ (Sheet Pile Steel) โดยตอกให้ให้ถี่ต่อเนื่องกันเป็นแนวกำแพง วิธีนี้จึงก่อสร้างได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ใช้พื้นที่น้อยกว่า แต่มีจุดอ่อนที่ราคาค่อนข้างสูงกว่าแบบอื่น

การก่อสร้างกำแพงกันดิน

ภาพ: การก่อสร้างกำแพงกันดิน

ใช้งานแบบไหน: งานก่อสร้างขนาดใหญ่ ทั้งเป็นรากฐานของชั้นใต้ดินในอาคารขนาดใหญ่ และเป็นแนวป้องกันดินสไลด์ตามตลิ่ง

4. กำแพงกันดินแบบ Anchored Wall เพิ่มสมอยึด ใช้กับกำแพงแบบอื่นได้

รูปแบบการก่อสร้าง Anchored Wall

ภาพ: รูปแบบการก่อสร้าง Anchored Wall

Anchored Wall เป็นการออกแบบกำแพงกันดินแบบพิเศษ ที่ต่างจากกำแพงแบบอื่น ๆ เพราะไม่ใช่แค่ฝังรากฐานกำแพงลงไปใต้ดิน แต่ยังเสริมด้วยสมอยึดที่ด้านข้างกำแพง ช่วยสร้างแรงต้านป้องกันกำแพงล้ม เมื่อเจอดินสไลด์ หรือแรงดันอื่น ๆ โดยวิธีนี้ยังนำไปประยุกต์ใช้กับกำแพงแบบอื่นได้ เพื่อเสริมความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพ

กำแพงแบบ

ภาพ:กำแพงแบบ

ใช้งานแบบไหน: ใช้กับถนน เป็นงานผนังหินตามถนน เพิ่มความปลอดภัยให้กับถนน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า