ตำแหน่งของแอดมินเพจ ทำงานอย่างไร
ตำแหน่งของแอดมินเพจ ทำงานอย่างไร คำว่า ‘ แอดมินเพจ ‘ หรือจะเรียกให้สั้นกว่านั้นก็ แอด แล้วอาจจะตามด้วยชื่อ เช่น แอดขิงขิง แอดฮว๊าฟ เรียกได้ว่ากลายเป็นคำคุ้นเคยของชาวโซเชี่ยลไปแล้ว แต่จริงๆแล้วแอดมินเพจ ไม่ได้เป็นกันง่ายๆ และ แอดมินเพจที่เราเรียกๆกันไม่ได้มีตำแหน่งเป็นแอดมินจริงๆด้วยซ้ำ
.. เอ๊ะ ชักจะงง ไม่ต้องงงไป เดี๋ยวเราจะมาทำความรู้จักตำแหน่งต่างๆและหน้าที่ของแต่ละตำแหน่งใน Facebook Page Roles ว่าใครทำอะไร ทำอะไรไม่ได้บ้าง ให้เคลียร์กันชัดๆไปเลย
เอาละ เมื่อเริ่มที่เราเปิดเพจ เราผู้เป็นเจ้าของเพจ ก็จะถูกเซ็ตให้เป็นตำแหน่ง Admin โดยปริยายอยู่แล้ว หากถ้าใครที่ทำเพจเพียงคนเดียวก็อาจจะไม่ได้ใส่ใจการ setting นี้มากนัก แต่เมื่อต้องเริ่มมีผู้ดูแลเพจเพิ่มขึ้นมา 1 2 3 4 หรือมากกว่านั้นตามจำนวนคนผู้เกี่ยวข้อง คนเยอะขนาดนี้ถ้าทุกคนมีสิทธิ์ในการปรับแต่งเพจ มีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆก็คงจะไม่ดีเท่าไหร่ ยิ่งในส่วนของเพจที่เกี่ยวข้องกับการเงินแล้วด้วย เฟสบุ๊กจึงได้แบ่งระดับชั้นของ Page Roles ไว้ดังนี้
: ADMIN
ตำแหน่งใหญ่สุดสามารถทำได้ทุกอย่างในการตั้งค่าเพจ โพสต์ ลบ ตอบเม้นต์ อินบ็อกซ์ Run Ads. เรียกว่ามีฟังก์ชั่นอะไรทำได้หมด รวมไปถึงเป็นคนเดียวที่สามารถเพิ่ม-ลด-แก้ไขตำแหน่งอื่นๆได้ ฉะนั้นแอดมินไม่ควรมีเยอะ ควรเป็นเจ้าของเพจร่วม หุ่นส่วน คนที่มีสำคัญกับในการสร้างเพจ
: EDITOR
อาจไม่ใช่เจ้าของเพจ แต่เป็นคนดูแลคอนเทนต์ ตารางการโพสต์ คอยมอนิเตอร์ความเคลื่อนไหวของเพจ ตำแหน่งนี้สามารถทำงานในการลงและปรับเปลี่ยนเนื้อหา รวมไปถึงการดูแลโฆษณา แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลบัตรเครดิตได้ จริงๆตำแหน่งนี้คือตัวตายตัวแทนของเจ้าของเพจ หรือที่คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นแอดมินนั่นละ แต่จริงๆตำแหน่งที่คอยโพสต์ คอยตอบโต้กับเรา (โดยเฉพาะในเพจแบรนด์ใหญ่) มักจะเป็น Editor ซะส่วนมาก ไม่ใช่แอดมินตัวจริงนะจ๊ะ
: MODERATOR
ตำแหน่งนี้จะจำเป็นในเพจสินค้าและบริการมากกว่า เพจขายของที่ต้องคอยตอบอินบ็อกซ์ ตอบคอมเมนต์กันแทบจะ 24 ชั่วโมง Moderator จึงคอยเป็นแขนขาของ Editor อีกทีหนึ่ง ถ้าเพจของเรายังไม่ได้มีคนเยอะแยะ และยังต้องช่วยๆกันโพสต์อยู่ เลือกเป็นตำแหน่ง Editor จะคล่องตัวกว่า
: ADVERTISER
แอดมินเพจ
ชื่อก็บอกอยู่แล้วเนอะว่าเป็นนักโฆษณา มุ่งมั่นมาเพื่อบูสต์โพสต์ ดู insight ไม่ได้ยุ่งเรื่องคอนเทนต์เท่าไหร่ ตำแหน่งนี้จึงโพสตไม่ได้ ตอบคอมเม้นต์ไม่ได้ ภาระกิจก็จะวนเวียนอยู่ที่หลังบ้าน ไม่ออกหน้าทัพเลย
: ANALYST
แอบดู insight อยู่นะจ๊ะ แต่เธอไม่รู้บ้างเลย ตำแหน่งนี้มาเพื่อเก็บข้อมูลและจากไป ส่วนใหญ่จะใช้ในบริษัทใหญ่ๆที่อาจจะจ้างองค์กรอื่นมาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล จึงอนุญาติให้เข้าถึงตัวเลขต่างๆได้อย่างเดียว แต่ไม่สามารถทำอะไรกับเพจได้เลย ถึงอย่างนั้นตำแหน่งนี้ก็สำคัญอยู่ใช้ย่อย เพราะอย่างที่รู้กันว่าการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคจากตัวเลขต่างๆนั้นสามารถนำไปปรับกลยุทธ์ต่างๆของบริษัทอย่างวัดผลได้
นี่ก็เป็น 5 ตำแหน่งหลักๆใน Page Roles แต่เดี๋ยวก่อน เห็นแว็บๆในภาพใช่มั้ยว่ามี Job Manager ด้วย อันนี้ก็เป็นส่วนที่ลิงค์ และสามารถใช้ฟีเจอร์ต่างๆในการโพสต์งาน ตอบผู้สมัคร เข้าดูเรซูเม่ต่างๆ ซึ่งยังไม่ใช่ Page Roles หลัก เพราะก่อนหน้านี้ก็มีตำแหน่งชั่วคราวคล้ายๆกันนี้อย่าง Live Contributor ในช่วงที่เปิดตัวฟีเจอร์ Live ใหม่ๆ เพื่อที่อาจจะให้ดารา อินฟลูเอนเซอร์ มาเทคเพจไปทำ Live ชั่วคราว แต่ภายหลังก็มีการเอาออกไป ยังไงก็ลองเอาไปปรับใช้ให้เหมาะกับกระบวนการทำงานกันดูจ้ะ